การชันสูตรพลิกศพ
โดยในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ตาม ปวิอ. ม.150 วรรค 3 ม.155/1
ขอเท็จจริงก็คือ นายแดงเจ้าพนักงานไปทำการค้นหรือไปทำการจับกุมนายดำผู้ต้องหาคดียาเสพติด ระหว่างทำการจับกุมนั้น นายดำไม่ยอมให้ทำการตรวจค้น จับกุม จึงได้ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้นายแดง แล้วต่อมานายแดงได้ใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้นายดำผู้ค้ายาเสพติด จนเป็นเหตุให้นายดำถึงแก่ความตาย ซึ่งการตายของนายดำนั้นเกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่
พนักงานสอบสวนจะต้องทำสนวนแบ่งออกเป็น 3 สำนวนดังนี้
1. สำนวนชันสูตรพลิกศพของนายดำ ตาม ปวิอ. ม.150 ว.3 ต้อง พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครอง อยู่ชันสูตรพลิกศพร่วมกับพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่และแพทย์
เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพตาม ม. 150 วรรค 3 แล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงานสอบสวนทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ ตาม ปวิอ. ม.150 ม.155/1 วรรค 1 เมื่อทำสำนวนการสอบสวนเสร็จแล้วก็เสนอให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลทำการไต่สวนและทำคำสั่งว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ตาม ปวิอ. ม.150 วรรค 5
ให้ศาลปิดประกาศแจ้งกำหนดวันที่จะไต่สวนสวนไว้ที่ศาล และให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ส่งสำเนาคำร้องและแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวยให้สามี ภริยา ผู้บุพการีผู้สืบสันดาน อย่างน้อยหนึ่งคน ตาม ปวิอ ม. 150 วรรค 7
หลักจากที่ศาลทำการไต่สวนแล้วมีคำสั่งก็จะส่งสำนวนการไต่สวนดังกล่าวไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการส่งพนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไปตาม ปวิอ. ม.150 วรรค 11 เหตุที่ส่งพนักงานอัยการเพราะพนักงานอัยการเป็นคนยื่นคำร้อง เพื่อให้พนักงานสอบสวยนำเอาไปประกอบสำนวนคดีอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. สำนวนที่กล่าวหาว่านายดำผู้ตายพยายามที่จะฆ่าเจ้าพนักงานและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติราชการตามหน้นที่ นายดำมีความผิดตาม ป.อ. ม. 289 (2) ประกอบ ม.59 ม.80 , ม.138 วรรคแรก วรรค 2 ม.140 วรรคแรก วรรค 3 , ม. 371 ซึ่งพนักงานสอบสวนผูเรับผิดชอบก็ต้องดำเนินตาม ปวิอ. ม.140-142 แต่ในที่สุดพนักงานอัยการก็จะไม่มีการสั่งไม่ฟ้อง แต่ต้องสั่งยุติการดำเนินคดี เพราะว่าแม้จะฟังว่าเป็นการกระทำความผิด แต่คดีก็ยุติลงไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ปวิอ. ม.39(1) โทษเป็นอันระงับไปโดยความตามของผู้กระทำผิดตาม ป.อ. ม.38
แต่ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องทำสำนวนและก็ต้องเสนอไปยังพนักงานอัยการตามระเบียบ
ซึ่งตามปกติแล้วพนักงานพนักงานอัยการก็จะยไม่สั่งสำนวนดังกล่าวทันที แต่จะต้องรอให้มีการสั่งในคดี วิสามัญฆาตกรรมโดยอัยการสูงสุดให้เรียบร้อยก่อนตาม ปวิอ. ม.143 วรรค 3 เพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าสั่งไปแล้วปรากฏว่าอาจจะไปขัดหรือแย้งกับคดีที่อัยการสูงสุดเป็นผู้สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องนายแดงเจ้าพนักงานได้
3. สำนวนที่กล่าวหาว่า นายแดงเจ้าพนักงานตำราจทำให้นายดำผู้ต้องหาตายซึ่งตามปกติเจ้าพนักงานก็จะต่อสู้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองตาม ป.อ. ม.68 จึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. ม.288 ประกอบ ม. 59 และก็เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ซึ่งพนักงานสอบสวนก็จะรวบรวมพยานหลักฐานรวมเข้าไปกับสำนวนการไต่สวนของศาลแล้วจะส่งสำนวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อที่จะทำการสั่งคดี ซึ่งถ้าอัยการสูงสุดสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องในทางคดีทุกอย่างก็เสร็จสิ้น ส่วนสำนวนคดีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าพยายามฆ่าเจ้าพนักงานก็ต้องฟังตามที่อัยการสูงสุดสั่งในเรื่องนั่น พนักงานอัยการก็จะสั่งให้คดีนั้นยุติไปตาม ปวิอ. ม. 39 (1) ประกอบ ป.อ. ม. 38
|